วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบูรณ์



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

ภาพที่แนบมา
ชื่อเมืองศรีเทพปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในเอกสารนิทานโบราณคดีโดยมีข้อมูล ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจ ราชการมณฑลเพชรบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2447 ทรงตั้งพระทัยสืบหาโดยที่เคยพบชื่อเมืองศรีเทพในทำเนียบเก่าบอกรายชื่อหัวเมือง และในสมุดดำเล่ม หนึ่งว่ามีเส้นทางหนึ่งไปยังสระบุรีเมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพ และเมืองเพชรบูรณ์ ทรงตั้งสมมุติฐานว่า เมืองศรีเทพคงอยู่ ในลุ่มแม่น้ำป่าสัก ระหว่าง เมืองชัยบาดาลกับเมืองเพชรบูรณ์และ พบว่าในป่าแดงใกล้เมืองวิเชียรบุรี มีเมืองโบราณ ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งชื่อเมืองี่ อภัยสาลีซึ่งเป็นชื่อที่พระธุดงค์ และชาวบ้านเรียกขานกันตาม ตำนานนิทานพื้นบ้านเมื่อเสด็จมาสำรวจ เมืองอภัยสาลีได้พบโบราณวัตถี่ ุโบราณสถานต่าง ๆ มากมายได้สันนิษฐานว่า เมืองโบราณแห่งนี้คงจะเป็นเมืองเดียวกับ เมืองศรีเทพี่ ที่ปรากฏชื่อ อยู่ในเอกสาร นับได้ว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียกชื่อเมืองแห่งนี้ว่า เมืองศรีเทพเป็นพระองค์แรก และมีการเรียกขานชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน เมืองศรีเทพ สร้างขึ้นในสมัยยุคขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐาน ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม ซึ่งสันนิษฐานว่า จะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 18 เป็นดินแดนแห่งตำนานที่เคยเป็นมหานคร ที่เจริญรุ่งเรือง มาก่อนเช่นเดียวกับเมืองที่ ดงศรีมหาโพธิ์ ในจังหวัดปราจีนบุรีมีอายุมากกว่า 1,000 ปี มีเนื้อที่ 2,889 ไร่ คาดว่าจะมีคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อาศัยอยู่ก่อนแล้ว มีการพัฒนาต่อเนื่องขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งจะเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น และ กลายเป็นเมืองศรีเทพ ที่มีการรับทั้งศาสนาพุทธและฮินดูเข้ามาในช่วงต่างๆ อ่านต่อ>>


สถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ



โบราณสถานเขาคลังใน



เป็นโบราณสถานที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม ผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก มีฐานมีปูนปั้นรูปบุคคล และสัตว์ประดับ เป็นศิลปะแบบทวารดีลักษณะผังเมือง จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง เช่นเดียวกับเมืองทวารดี หรือเมืองอื่นๆ เช่น นครปฐมโบราณ เมืองคูบัว ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้น บุคคลและลวดลาย มีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับ ที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถาน บ้านโคก ไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี อายุสมัยการก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12





ปรางค์ศรีเทพ


เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมร หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ส่วนฐานล่างก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานบัวลูกฟักแบบเดียวกับ สถาปัตยกรรมเขมรทั่ว ๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้ พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลาย สลักราวพุทธศตวรรษที่ 16 –17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณ สถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย





ปรางค์สองพี่น้อง


ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทาง เข้าทางเดียว จากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึงมีลักษณะของทับหลัง และเสาประดับกรอบประตู เป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 –17 เป็นศิลปะขอมแบบ บาปวน ต่อนครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่มโดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้ว ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้น โดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ระหว่างตัวปราสาททั้งสองแห่ง คือปรางค์สองพี่น้องและปรางค์ศรีเทพ มีกำแพงล้อมรอบ และมีอาคารประรำพิธีขนาดเล็ก กระจัดกระจาย อยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผัง ในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย





สระแก้วสาระขวัญ


สระแก้วจะอยู่ทางทิศเหนือด้านนอกเมือง ส่วนสระขวัญอยู่ภายในบริเวณเมือง สระน้ำทั้งสองสระ จะมีน้ำขังอยู่ตลอด เป็นน้ำที่เชื่อกันว่า ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในอดีตได้นำน้ำจากสระทั้งสอง ไปประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา






โบราณสถานอื่น ๆ


นอกจากโบราณสถานหลักแล้วยังมีโบราณสถานย่อย ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ทิศใต้ของเขาคลังใน พบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง พบใบเสมาหิน บริเวณใกล้หลุมขุดค้นมีโบราณสถาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี และมาก่อสร้างทับในระยะที่มีการ รับเอาศาสนา พราหมณ์เข้ามา จึงเห็นได้ว่าบริเวณเมืองชั้นเดิม น่าจะเป็นเมืองแบบทวารวด และมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมร ในระยะหลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางทิศใต้ยังอาคารมณฑปแบบทวารวดี ขนาดใหญ่และมีการพยายามเปลี่ยนแปลง ให้เป็นเทวาลัยประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ

ที่มา http://www.tourphetchabun.com/modules.php?...page&pid=50

ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติศาสตร์จังหวัดเพชรบูรณ์>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอให้สนุกกับการ์ตูนเรื่อง ครูพิเศษจอมป่วนรีบอร์น น่ะค่ะ